[ุ16-มีนาคม-2555] หากถามตอนนี้ว่า ผู้ที่ใช้อุปกรณ์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นทั้งสมาร์ทโฟน หรือว่า แท็บเล็ต มีกี่คนบ้างที่ไม่ได้ลง Anti-virus สำหรับป้องกันมัลแวร์ ก็คงจะเป็นส่วนน้อยครับ เพราะอย่างน้อย การลง Anti-virus นั้น เสมือนเป็น "ความอุ่นใจ" ให้กับอุปกรณ์ของเรา ที่จะช่วยสกัดกั้น มัลแวร์ (Malware) ได้บ้าง คล้ายกับเป็นปราการด่านแรกนั่นเอง แต่ขณะนี้ มัลแวร์ (Malware) กำลังระบาดอย่างหนักบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการเปิด และไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลงแต่อย่างใด อีกทั้งยังมีในหลากหลายรูปแบบ ไม่เพียงเฉพาะเป็น แอพพลิเคชั่นปลอมๆ บน Google Play (Android market) เท่านั้น แต่เราจะมีวิธีการป้องกันมัลแวร์ (Malware) ในเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง วันนี้ techmoblog มีข้อปฏิบัติง่ายๆ มาฝากกันครับ
วิธีที่ 1 :: เช็ค Permissions (การอนุญาต) ให้ดีเสียก่อน
ตามปกติแล้ว ก่อนที่เราจะทำการติดตั้งแอพพลิเคชั่นใดๆ บนอุปกรณ์แอนดรอยด์ (Android device) ระบบจะแสดงหน้าจอหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเป็นหน้าจอของ Permission ทั้งหมด ที่แอพพลิเคชั่นดังกล่าวต้องการจะใช้ ไม่ว่าจะเป็น การเข้าไปในส่วนของการเชื่อมต่อ (Network communication) หรือ การเข้าไปในส่วนพื้นที่เก็บข้อมูล (Storage) เป็นต้น ซึ่งบางแอพพลิเคชั่น ก็จำเป็นที่ต้องขอ Permission จากผู้ใช้งาน แต่ในบางครั้ง การขอ Permission ในบางเรื่อง ก็ไม่จำเป็นเสมอไปครับ อย่างเช่น เราจะดาวน์โหลดเกมๆ หนึ่งมาเล่น แต่แอพพลิเคชั่นเกมดังกล่าว ขออนุญาตเข้าไปในส่วนของ contact ของเรา ซึ่งฟังดูแล้ว ไม่ make sense ครับ เป็นต้นครับ
แต่บางที วิธีนี้ อาจจะไม่เหมาะนัก เพราะเวลาเราดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นอะไรมาซักอย่างหนึ่ง ปกติเราก็จะกดดาวน์โหลดเลย แทบจะไม่อ่าน Permission หรือรายละเอียดอื่นๆ ด้วยซ้ำไป
วิธีที่ 2 :: Install แอพพลิเคชั่นที่มาจาก Google Play (Android Market) เท่านั้น
แอพพลิเคชั่นบน Google Play (หรือชื่อเดิม Android Market) ถือว่า เป็นแอพพลิเคชั่นที่ได้รับความไว้วางใจ และน่าเชื่อถือมากที่สุดแล้วครับ เนื่องจากมาจากทาง Google โดยตรงนั่นเอง ซึ่งผู้ใช้งานส่วนใหญ่ มักจะชอบดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น จาก Hosting อื่นๆ เพราะสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี แต่ไม่ต้องเสียเงินซื้อ แต่เราจะแน่ใจได้ขนาดไหนว่า Hosting ที่เก็บไฟล์ที่เราจะดาวน์โหลดมานั้น ไม่มีมัลแวร์ (Malware) ฉะนั้น ถ้าหลีกเลี่ยงได้ ควรจะหลีกเลี่ยงนะครับ นอกจากนี้ ผู้ที่ทำการ root เครื่อง ก็เสี่ยงต่อการโดนมัลแวร์ (Malware) ได้เช่นกันครับ
แต่ในบางครั้ง แอพพลิเคชั่นบางอย่าง ที่หลุดเข้ามาใน Google Play ก็อาจจะเป็นมัลแวร์ได้ เราควรจะดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น จากผู้พัฒนาที่ไว้ใจได้
วิธีที่ 3 :: คอยอัพเดทซอฟท์แวร์อย่างสม่ำเสมอ
เมื่อใดก็ตาม ที่มีการให้อัพเดทซอฟท์แวร์ เราต้องหมั่นอัพเดทด้วยนะครับ เนื่องจากการที่ Google ปล่อยซอฟท์แวร์ออกมาให้อัพเดทในแต่ละครั้ง นั่นหมายถึง การแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะบั๊ก ที่ทาง Google ได้รับแจ้ง และส่งซอฟท์แวร์มาให้อัพเดทกันนั่นเอง
วิธีที่ 4 :: Install โปรแกรม Anti-malware
ถามว่า การลง Anti-virus จำเป็นหรือไม่ บางทีก็ไม่จำเป็นเสมอไป ถ้าหากผู้ใช้งานไม่ได้ทำการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นแปลกๆ แต่สำหรับผู้ที่ใช้งานแบบหนักๆ เช่น เปิดเว็บไซต์แปลกๆ หรือโหลดแอพพลิเคชั่นมาใช้งานเยอะแยะมากมาย การลง Anti-virus หรือ Anti-malware ถือว่า เป็นสิ่งสำคัญครับ อย่างน้อยก็เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน ซึ่งโปรแกรม Anti-malware ที่เป็นที่นิยมนั้น ก็ได้แก่ avast!, Dr.Web, F-Secure, IKARUS, Kaspersky, Lookout, McAfree, MYAndroid, NQ Mobile และ Zoner อย่าลืมว่า ต้องไปดาวน์โหลดจาก Google Play (Android Market) เท่านั้นด้วยครับ
วิธีที่ 5 :: อย่าตั้งให้ระบบบันทึกพาสเวิร์ด
วิธีนี้ ถือว่า เป็นวิธีที่ควรจดจำอย่างมากครับ เนื่องจากส่วนใหญ่ เรามักจะให้ระบบ จดจำพาสเวิร์ดของเราไว้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องใส่พาสเวิร์ดตลอดเวลาทุกครั้งที่เข้าใช้งาน แต่ลองคิดดูเล่นครับว่า เมื่อใดก็ตาม ที่มือถือของเราโดนขโมย และพบว่า Facebook โดนแฮ็ก นั่นเป็นเพราะ เรากำหนดให้ระบบ จำพาสเวิร์ดของเรานั่นเอง แต่ก็คงไม่ร้ายแรงเท่ากับ การที่คนร้าย สามารถเข้าสู่ธนาคารออนไลน์ และแฮ็กพาสเวิร์ดได้ ฉะนั้น ทุกครั้งที่ไม่ใช่งานโปรแกรมอะไรก็ตาม ให้ทำการ Log out ออกเสมอ ยอมเสียเวลาใส่พาสเวิร์ด ดีกว่ามานั่งเสียใจทีหลังครับ
---------------------------------------
บทความโดย : Techmoblog.com
Update : 16/03/2012
หน้าหลัก (Main) |
(สินค้า IT) ออกใหม่ |
|
FOLLOW US |