ผลการศึกษาและวิจัยล่าสุดจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของการชาร์จสมาร์ทโฟนในห้องนอน มีผลต่อการผลิตเมลาโทนินในร่างกายอย่างไร และพบว่า การชาร์จสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตในห้องนอน ส่งผลกระทบต่อการหลั่งสารเมลาโทนินในร่างกาย ทำให้กระบวนการเผาผลาญ (Metabolism) ไม่สมดุล และอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา นั่นก็คือ โรคอ้วนและโรคเบาหวาน
**เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาโดยธรรมชาติ ช่วยควบคุมการนอน ซึ่งจะมีการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ในตอนกลางคืน เพื่อทำให้ร่างกายรู้สึกง่วงและหลับ ถ้าหากมีการพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้
โดยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิจัย พบว่า เมื่อสมาร์ทโฟนอยู่ในสถานะพร้อมใช้งาน จะมีพลังงานในการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ 2.3 milligauss ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 milligauss เมื่อมีการชาร์จ และค่าของการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของสมาร์ทโฟน จะอิงตามระยะทาง นั่นก็คือ ระยะห่าง 5 ซม., 10 ซม. และ 15 ซม. จะมีการแผ่รังสีที่ 1, 0.3 และ 0.3 milligauss ตามลำดับ
และจากข้อมูลข้างต้น สามารถตีความหมายได้ว่า ยิ่งวางสมาร์ทโฟนห่างเท่าไหร่ การแผ่รังสีก็จะยิ่งลดลงมากขึ้นเท่านั้น โดยกลุ่มนักวิจัยได้ให้คำแนะนำว่า ควรปิดสมาร์ทโฟนตอนนอน แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ให้วางไว้ที่ห้องอื่นแทน อย่าวางสมาร์ทโฟนในห้องนอน อย่าวางบนเตียง หรือชาร์จแบตข้างหมอน
เพราะเหตุใดถึงห้ามชาร์จแบตตอนนอน ? กลุ่มนักวิจัยได้ให้เหตุผลไว้ว่า เมื่อสมาร์ทโฟนถูกชาร์จ จะมีการผลิตคลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดเล็กออกมา แม้ว่าตอนนั้นจะไม่ได้หยิบสมาร์ทโฟนมาใช้ก็ตาม ฉะนั้น ควรถอดปลั๊กชาร์จก่อนจะเข้านอนทุกครั้ง
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2014 กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Granada และผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย Manchester ก็เคยศึกษาเรื่องเดียว และเห็นด้วยที่ว่า การใช้คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนก่อนนอน มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคอ้วน
-------------------------------------
ที่มา : gizchina.com
นำเสนอบทความโดย : techmoblog.com
Update : 21/02/2022
หน้าหลัก (Main) |
(สินค้า IT) ออกใหม่ |
|
FOLLOW US |