ในวัย 49 ปี Elon Musk ถือว่าเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในวงการธุรกิจ ซึ่งนอกจากจะเป็นทั้งวิศวกรและนักประดิษฐ์แล้ว ยังเป็นผู้ก่อตั้งและร่วมก่อตั้งบริษัทชื่อดังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น SpaceX, Tesla, Paypal และอื่น ๆ อีกมากมาย อีกทั้งเมื่อช่วงต้นปี 2021 ที่ผ่านมา ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกด้วยเช่นกัน
Musk เคยกล่าวว่า ตนเองทำงาน 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มามากกว่า 15 ปีแล้ว และเพิ่งจะลดชั่วโมงการทำงานลงเหลือ 85 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จนในบางครั้งมีข่าวลือว่า Musk ไม่พักแม้แต่จะทานอาหารเที่ยง แต่เลือกที่จะทานอาหาร, ประชุม และตอบอีเมลในเวลาเดียวกัน
เช่นเดียวกับ Musk อัจฉริยะของโลกคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Aristotle, Euclid, Thomas Edison, Feynman, และ Nikola Tesla ได้ใช้วิธีการเชื่อมโยงความคิดเพื่อการเรียนรู้, แก้ปัญหายาก ๆ ต่าง ๆ และสร้างสรรค์ผลงานที่ยิ่งใหญ่ มาดูกันดีกว่าว่า วิธีการที่บุคคลเหล่านี้ใช้เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ มีอะไรบ้าง
คิดให้ลึกถึงแก่น (First-principles thinking)
จากที่เคยให้สัมภาษณ์กับช่อง TED Musk เคยเผยว่า ความสำเร็จของตนเองมาจากหลักการที่เรียกว่า First-principles thinking หรือก็คือ การตั้งคำถามให้กับปัญหาที่กำลังสงสัย จากนั้นก็เริ่มหาแนวทางแก้ไขโดยเริ่มจากศูนย์ เหมือนกับว่าเราไม่เคยรู้จักกับปัญหาแบบนี้มาก่อน ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการทำให้เรามองเห็นวิธีการแก้ไขที่เราไม่เคยเห็นหรือไม่คาดคิดมาก่อน ซึ่ง Musk ให้ใช้หลักการ 3 ขั้นตอนง่าย ๆ นั่นก็คือ
Albert Einstein เคยเผยว่า ถ้าหากมีเวลาให้แก้ปัญหา 1 ชั่วโมง เขาก็จะใช้เวลา 55 นาทีในการคิดถึงปัญหาดังกล่าว และอีก 5 นาทีสำหรับแก้ปัญหา โดยตัวอย่างของ step นี้ก็ได้แก่
หลักการพื้นฐานเป็นวิธีที่ช่วยเปิดเผยความจริงและตอบคำถามที่เราสงสัย ยกตัวอย่างตอนที่ Musk เคยให้สัมภาษณ์กับ Kevin Rose ที่เคยมีคนตั้งคำถามว่า แบตเตอรี่มีราคาแพงมาก ซึ่งจากข้อมูลที่มี (ในตอนนั้น) ก็คือ ราคาอยู่ที่ $600 ต่อกิโลวัตต์ และก็มีแนวโน้มว่าราคาแบตเตอรี่จะไม่ถูกลงในอนาคต
โดย Musk ได้ตอบคำถามนี้โดยใช้หลักการ First-principles thinking ซึ่งจะต้องดูก่อนว่า ส่วนประกอบของแบตเตอรี่นั้นมีอะไรบ้าง ?, มูลค่าทางการตลาดของส่วนประกอบเหล่านี้เป็นเท่าไหร่ ? และถ้าหากเราซื้อส่วนประกอบเหล่านี้ในอัตรา London Metal Exchange จะมีราคาเท่าไหร่ ? คำตอบจากแนวคิดของ Musk ก็จะอยู่ที่ $80 ต่อกิโลวัตต์เท่านั้น และเมื่อนำวัตถุดิบเหล่านี้มารวมกันก็จะได้ราคาแบตเตอรี่ที่ถูกกว่าที่หลาย ๆ คนได้คาดการณ์เอาไว้
เมื่อเราสามารถระบุและแยกแยะปัญหาต่าง ๆ ตามหลักความจริงพื้นฐานแล้ว จากนั้นให้เริ่มสร้างแนวทางการปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น ตัวอย่างเช่น ต้องการแก้ปัญหาจากสมมติฐานที่ว่า การสร้างธุรกิจให้เติบโต จะต้องใช้เงินจำนวนมาก ถ้าหากคิดตามหลัก First-principles thinking ก็สามารถแบ่งได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
คิดให้แตกต่าง (Think Differently)
ปกติแล้ว เมื่อใดก็ตามที่เราเจอปัญหาเราก็มักจะคิดวิธีการแก้ปัญหาเหมือนกับคนอื่น ๆ แต่วิธีที่ดีกว่าก็คือ คิดให้นอกกรอบ ด้วยการตั้งสมมติฐาน, แยกแยะปัญหาต่าง ๆ ตามหลักการพื้นฐาน และสร้างวิธีการแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น เพียงเท่านี้ก็สามารถแกัปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้ไม่ว่ามันจะซับซ้อนแค่ไหนก็ตาม
-------------------------------------
ที่มา : inc.com
เรียบเรียง : techmoblog.com
Update : 31/03/2021
หน้าหลัก (Main) |
(สินค้า IT) ออกใหม่ |
|
FOLLOW US |