หน้าแรก >> ข่าวทั้งหมด >> อ่านบทความ/ข่าว

นักดาราศาสตร์พบวัตถุปริศนาเข้ามาในระบบสุริยะของเรา โดยไม่รู้ว่าเข้ามาได้อย่างไร ?

เป็นสิ่งที่สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการดาราศาสตร์อีกครั้ง เมื่อกลุ่มนักดาราศาสตร์ ได้ค้นพบวัตถุปริศนาโคจรผ่านดวงอาทิตย์เมื่อเดือนที่ผ่านมา และเชื่อว่าเป็นวัตถุที่มาจากระบบสุริยะอื่น โดยกลุ่มนักดาราศาสตร์ได้ตั้งชื่อให้กับวัตถุปริศนานี้ว่า Oumuamua (1I/2017 U1) ซึ่งเป็นภาษาฮาวายที่หมายถึง คนส่งสาร หรือคนสอดแนม โดย Oumuamua เป็น 1 ในวัตถุปริศนานับหมื่นชิ้นที่หลุดเข้ามาในระบบสุริยะและยังไม่ถูกตรวจพบ

เมื่อได้ทำการศึกษาวงโคจรของ Oumuamua พบว่า เป็นไปได้ยากมากที่จะเดินทางมายังระบบสุริยะนี้ได้ อีกทั้งยังเป็นวัตถุปริศนาชิ้นแรกถูกวิเคราะห์ว่า มาจากดาวดวงอื่น ซึ่งอาจจะช่วยไขปริศนาได้ว่า นอกระบบสุริยะของเรานั้นมีลักษณะเป็นเช่นไร

จากบทวิเคราะห์ล่าสุดที่กลุ่มนักดาราศาสตร์สังเกตได้จากกล้องโทรทรรศน์ นั่นก็คือ Oumuamua มีลักษณะคล้ายกับดาวหางบางดวง รวมไปถึงดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะ ซึ่งน่าจะเป็นการบอกใบ้ได้ว่า นอกระบบสุริยะอาจจะมีองค์ประกอบที่คล้ายกับระบบสุริยะของเรา จึงทำให้ Oumuamua สามารถเดินทางข้ามมายังอีกกาแลกซี่หนึ่งได้

สำหรับลักษณะของวัตถุปริศนา Oumuamua นี้ มีรูปร่างยาวและแบน มีสีแดงคล้ายกับวัตถุในระบบสุริยะชั้นนอก ไม่มีแก๊สและฝุ่นรอบตัว อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 124 ล้านไมล์ เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 85,700 ไมล์ต่อชั่วโมง โดยเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพิ่งเดินทางผ่านวงโคจรของดาวอังคาร และคาดว่า จะเดินทางผ่านวงโคจรของดาวพฤหัสในปี 2018 นี้

 

 

---------------------------------------
ที่มา : theverge.com , theguardian.com

แปลและเรียบเรียง : techmoblog.com

Update : 22/11/2017

Oumuamua





Cookie Consent

Our website uses cookies to provide your browsing experience and relavent informations.Before continuing to use our website, you agree & accept of our Cookie Policy & Privacy