หน้าแรก >> ข่าวทั้งหมด >> อ่านบทความ/ข่าว

ทำความรู้จักกับเครือข่าย NB-IoT มาตรฐานด้านการสื่อสารแบบใหม่ในยุค Internet of Things คืออะไร ? ประเทศไทยได้ประโยชน์อะไรจากเทคโนโลยีดังกล่าว ? หาคำตอบกันได้ในบทความนี้

เรียกได้ว่าในยุคดิจิทัลตอนนี้ คงไม่มีใครไม่รู้จักกับว่า Internet of Things หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า IoT กันอย่างแน่นอน ซึ่ง IoT นั้น คือการเชื่อมต่อเทคโนโลยีกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทำให้มนุษย์เราสามารถสั่งการหรือควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ จากที่ไหนก็ได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน, รถยนต์ และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยมีสมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในควบคุมและสั่งการอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้

สำหรับเทคโนโลยี 3G และ 4G LTE ในปัจจุบัน ถูกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้ต้องใช้พลังงานมาก และกินทรัพยากรไปพอสมควร แต่สำหรับอุปกรณ์ประเภท IoT การทำงานส่วนใหญ่ก็เพียงแค่รับคำสั่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงถึงขนาดนั้น ทำให้มีมาตรฐานใหม่ของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ประเภท IoT ที่เรียกว่า Narrow band Internet of Things หรือ NB-IoT ซึ่งใช้พลังงานต่ำ แต่มีความสามารถในการทะลุทะลวงสูง โดย AIS ถือว่าเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เปิดให้บริการเครือข่าย IoT เชิงพาณิชย์ และล่าสุด ได้เปิดให้บริการเครือข่าย NB-IoT ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ eMTC (LTE CAT-M1) จะพร้อมให้บริการในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ นอกจากนี้ ทาง AIS ยังมุ่งเน้นให้บริการด้าน Digital Platform แบบครบวงจร ทั้งบริการ IoT และ Cloud สำหรับธุรกิจอีกด้วย

 

เทคโนโลยี NB-IoT คืออะไร ? มีคุณสมบัติอย่างไร ?

สำหรับเครือข่าย IoT ทั้ง NB-IoT และ eMTC (LTE CAT-M1) ถือว่าเป็นเครือข่ายมาตรฐานสากล ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการใช้งานเทคโนโลยี IoT ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น ก็คือ

  • ใช้พลังงานต่ำ
  • สามารถออกแบบให้ใช้งานได้นานสูงสุดถึง 10 ปี
  • มีความสามารถในการทะลุทะลวงสูง และเข้าถึงพื้นที่จำกัด เช่น ภายในอาคาร รวมถึงท่อใต้พื้นดิน เป็นต้น
  • สามารถรองรับการเชื่อมต่อของอุปกรณ์จำนวนมากพร้อม ๆ กันได้ สูงสุดในระดับ 1 แสนตัวต่อสถานี
  • สามารถพัฒนาเครือข่ายให้เปิดบริการ IoT ได้อย่างรวดเร็ว เพราะออกแบบอุปกรณ์ให้ใช้ร่วมกับ โครงข่าย 4G ในปัจจุบันได้

โดยคุณสมบัติในข้างต้นนี้ ทำให้ภาคธุรกิจสามารถใช้งานนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่เคยใช้มาก่อน เช่น การติดตั้งเซ็นเซอร์ในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดด้านพลังงานหรือพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นด้วยต้นทุนที่ถูกลง คุ้มค่าในการลงทุนที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง

 

เครือข่าย NB-IoT มีประโยชน์ต่อโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ภายในประเทศไทยอย่างไร ? คนไทยได้ประโยชน์อะไรจากเครือข่าย NB-IoT

สำหรับในประเทศไทยนั้น ได้มีการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาประยุกต์ใช้กันบ้างแล้ว ทั้งในระดับผู้บริโภค เช่น Smart Home, Smart Parking รวมถึงในระดับองค์กรและการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น Smart Logistics, Smart City, Smart Farming และ Smart Environment โดยทาง AIS เองก็มีการเตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนทุกภาคส่วน ด้วยการพัฒนาเครือข่ายที่เรียกว่า NB-IoT ที่ในขณะนี้ครอบคลุมแล้ว 77 จังหวัดทั่วไทย และ eMTC (enhanced Machine-Type Communication) ที่สามารถใช้ควบคู่กับ NB-IoT เพื่อนำคุณสมบัติมาเสริมซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเช่น eMTC เหมาะกับการใช้งาน IoT แบบเคลื่อนที่ เช่น Connected Car รวมถึงสามารถรับ/ส่งข้อความเสียงในอุปกรณ์ IoT ยุคใหม่ ๆ ได้อีกด้วย

โดยในเชิงพาณิชย์นั้น มีทั้งภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ในการทำธุรกิจเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • บริษัท ปตท. ใช้เครือข่าย NB-IoT มาช่วยลดขั้นตอนและเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบระบบ Cathodic Protection เพื่อให้งานบำรุงรักษาท่อส่งก๊าซธรรมชาติเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด จากเซ็นเซอร์ที่สามารถตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของท่อส่งก๊าซได้ตลอดเวลา และพร้อมส่งข้อมูลตรงจากท่อส่งก๊าซผ่านแอปพลิเคชันถึงมือวิศวกรที่ดูแลได้ทันที

  • บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค นำเครือข่าย NB-IoT จากเอไอเอส เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการสร้าง IoT Smart City ที่มีการใช้งานจริงแล้ว ในโครงการ Perfect Smart City เมืองอัจฉริยะที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้อยู่อาศัยในโครงการ เช่น Mobike, Smart Lighting, Smart Tracking รวมถึงการนำ Smart Home และ Security Platform มาต่อยอดพัฒนา Home Application อีกด้วย โดยนำร่องให้บริการแล้วใน 15 โครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
  • โครตรอนกรุ๊ป ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ และเครื่องหยอดเหรียญประเภทต่างๆ พัฒนาโซลูชั่น Smart Coin Kiosk Machine เซ็นเซอร์วัดปริมาณเหรียญภายในเครื่อง ที่เชื่อมต่อเครือข่าย NB-IoT สามารถส่งข้อมูลจะแจ้งเตือนทันทีเมื่อเหรียญเต็มจากจุดต่างๆ ทั่วประเทศ แสดงผลผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อผู้ดูแลสามารถวางแผนการจัดเก็บเหรียญได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสในการให้บริการและสร้างมูลค่าให้กับการลงทุน โดยมีการใช้งานจริงแล้วใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ

  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำโซลูชั่นส์ Smart Environment Monitoring and Water Management สร้างระบบตรวจสภาพแวดล้อม และบริหารจัดการน้ำ โดยนำอุปกรณ์ NB-IoT Board และ NB IoT Sim ติดเข้ากับเซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศ เพื่อสามารถเรียกดูข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งปัจจุบันมีการติดตั้งกล่องดังกล่าวเพื่อใช้งานจริงแล้ว บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่ และ จ. ภูเก็ต โดยส่งข้อมูลไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย เพื่อคอยติดตามสภาพแวดล้อม และระดับน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อวางแผนป้องกันน้ำท่วมด้วย
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พัฒนาโซลูชั่นส์ การดูแลคุณภาพยาและเวชภัณฑ์ภายในคลังยาด้วยเทคโนโลยี NB-IoT เพื่อสามารถตรวจสอบ และควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานจริงแล้วภายในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสุรนารี โดยมีการพัฒนาซอฟท์แวร์เพิ่มเติมให้สามารถส่งข้อมูลผ่านเซิร์ฟเวอร์ของโรงพยาบาล และเภสัชกรสามารถเรียกดูได้ผ่าน Chat Application ได้ตลอดเวลา

  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโซลูชั่นส์ Smart Trash Bin มาแก้ไขปัญหาขยะล้นถังก่อนถึงรอบเวลาจัดเก็บ เนื่องจากจุดต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยจะมีปริมาณขยะที่แตกต่างกันตามสถานที่ และช่วงเวลา โซลูชั่นส์นี้สามารถทำให้ตรวจสอบปริมาณขยะแต่ละถัง และกลิ่นขยะภายในถังได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถเจ้าหน้าที่เข้าไปจัดเก็บได้ทันทีก่อนที่ขยะเต็มถัง และสามารถใช้งานต่อเนื่องทันที ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการการจัดเก็บ รวมถึงเป็นการดูแลทัศนียภาพของมหาวิทยาลัยให้สะอาดสวยงามอีกด้วย
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโซลูชั่น Smart City มาใช้บริเวณภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เช่น Smart Locker ล็อคเกอร์อัจฉริยะที่รวมเทคโนโลยี IoT ล่าสุดเข้าด้วยกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่อาคารหรือที่อยู่อาศัย, ระบบอ่านป้ายทะเบียน เพื่อควบคุมบุคคลเข้าออกสถานที่, Application พบหมอ และระบบควบคุมแสงสว่าง

 

นอกจากความพร้อมด้านเครือข่าย เอไอเอสยังมุ่งเน้นการให้บริการ Digital Platform แบบครบวงจร ทั้งบริการ IoTและ Cloud สำหรับธุรกิจทุกประเภท ซึ่งจะเป็น Platform หลักในการ Transform ธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัล เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริงในประเทศไทย สอดคล้องตามนโยบาย Thailand 4.0 โดย มีรายละเอียด IoT และ Cloud Platform ดังนี้ 

 

Platform และบริการ IoT (Internet of Things)

AIS ให้บริการ IoT (Internet of Things) ใน Ecosystems ครบวงจร ตั้งแต่บริการด้าน Hardware, Connectivity และ Platform เพื่อสนับสนุนให้องค์กรภาครัฐ, ภาคธุรกิจ, ภาคการศึกษา หรือชุมชนนักพัฒนา ให้สามารถพัฒนา IoT solution เพื่อใช้งานได้ และยังมี IoT solutions สำเร็จรูป ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับความต้องการได้ทันที ดังนี้ 

  • บริการด้านอุปกรณ์ (Hardware)

เพื่อส่งเสริมการพัฒนาโซลูชั่นและผลิตภัณฑ์ IoT ตอบโจทย์การพัฒนาภายในประเทศ AIS จึงพร้อมให้การสนับสนุนด้วย อุปกรณ์ (Hardware) ที่หลากหลาย เช่น Sensor, Chipset, Module, Device, eSIM และ ชุดพัฒนา IoT (NB-IoT Development Kit) เปิดกว้างให้ผู้สนใจและภาคธุรกิจ สามารถต่อยอดการพัฒนา IoT Solutions ได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรม และยังสามารถแข่งขันได้กับต่างประเทศ

  • บริการด้านเครือข่าย (Connectivity)

AIS มีเครือข่ายสำหรับงาน IoT ที่ครอบคลุม, หลากหลาย และรองรับการใช้งานโซลูชั่น IoT ที่แตกต่างกันตั้งแต่เครือข่ายไร้สายสำหรับอุปกรณ์ใช้พลังงานต่ำ (NB-IoT, eMTC), เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง (3G หรือ 4G LTE) และเครือข่ายมีสายแบบใยแก้วนำแสงความเร็วสูง (Fibre Optics)

โดยการใช้งานโซลูชั่น IoT แต่ละรูปแบบต้องการ มีความต้องการคุณสมบัติของเครือข่ายที่แตกต่างกัน AIS จึงเตรียมเครือข่ายที่หลากหลาย ให้ผู้ใช้งานเลือกผสมผสานได้ตามประเภทการใช้งานที่ต้องการ นอกจากนั้น ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับโซลูชั่น IoT ด้วย Corporate APN พิเศษ ที่ช่วยแยกโครงสร้างการใช้งาน และรองรับการออกแบบโครงข่ายเฉพาะ ให้กับบริการโซลูชั่นพิเศษต่าง ๆ เช่น Mobile ATM, Mobile EDC, Fleet Management, Telemetry

  • บริการด้านแพลทฟอร์ม (Platform)

AIS พร้อมให้บริการ IoT Platform ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจ เช่น Connectivity Platform ซึ่งช่วยกระบวนการผลิตและจำหน่าย อุปกรณ์ IoT โดยสามารถ เปิด-ปิดการใช้งานได้เอง ปรับเปลี่ยนรายละเอียดการใช้งาน เช่น แพ็คเกจ, การเชื่อมต่อโครงข่าย (APN) ให้สอดคล้องกับ Life Cycle ของกระบวนการผลิต สามารถตรวจสอบสถานการณ์เชื่อมต่อ และปริมาณการใช้งานได้ด้วยตน เองผ่าน Website อีกทั้งยังสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อเชื่อมต่อการทำงานแบบอัตโนมัติผ่าน Gateway ด้วย API ได้

นอกจากนั้นยังมี Platform เฉพาะสำหรับกลุ่มธุรกิจ หรือการใช้งาน เช่น Smart City, Smart Home, Smart Health, Smart Agricultural ด้วย 

  • เครือข่ายพันธมิตรเพื่อการพัฒนา Ecosystems : AIS IoT Alliance Program (AIAP) 

AIAP เป็น Program ที่ประกอบไปด้วยสมาชิกจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นองค์กร, หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน, บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องหรือสนใจในเทคโนโลยี IoT รวมถึงองค์กรในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีความสนใจนำเทคโนโลยี IoT ไปพัฒนาหรือปรับปรุงองค์กรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของตน ให้ได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้, ความสามารถ, สินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาร่วมกันเป็น IoT Solution และ Business ต่าง ๆ ต่อไป

โดยโครงสร้างของ Program จะประกอบไปด้วย Ecosystems ทั้งส่วนของผู้ให้บริการตั้งแต่ผู้ผลิตอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น Chipset, Modules, Sensor เป็นต้น กลุ่มนักวิจัยพัฒนา สถาบันการศึกษา บริษัทเอกชนผู้ให้บริการ IoT solutions จากทั้งในและต่างประเทศ และกลุ่มบริษัทในทุกอุตสาหกรรมที่มีความต้องการพัฒนา หรือใช้งาน IoT Solution โดย AIAP จะช่วยเป็น Program ในการเชื่อมโยงการวิจัยพัฒนา การทำโมเดลธุรกิจของผู้ให้บริการ กับการใช้งานจริงของทุกๆ กลุ่มอุตสาหกรรม  เครือข่าย AIAP จะช่วยให้เกิด Solution ที่เหมาะสม คุ้มค่า และใช้งานได้จริงแตกต่างกันในแต่ละรูปแบบการใช้งาน (Use Case) ในแต่ละธุรกิจที่แตกต่างกัน

 

AIS คว้ารางวัล ผู้นำด้านเทคโลยี IoT และนวัตกรรม Cloud Services จากงาน 2018 Frost & Sullivan Thailand Excellence Awards

เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคม 2018 ที่ผ่านมา AIS ได้รับรางวัล 2018 Thailand IoT Solutions Provider of the Year จากงานประกาศผลรางวัล 2018 Frost & Sullivan Thailand Excellence Awards โดยบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่องค์กรในประเทศไทยที่มีความเป็นเลิศในการดำเนินธุรกิจด้านต่าง ๆ จากการพัฒนาเทคโนโลยี IoT แบบครบวงจร ด้วยเครือข่าย NB-IoT จนเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญให้กับภาคธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องยาวกว่า 15 ปี พร้อมสร้าง IoT Ecosystems ภายใต้ชื่อ AIS IoT Alliance Program หรือ AIAP เป็นรายแรกของประเทศไทย เพื่อให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถ, Product, Service หรือ Solution เพื่อให้เกิดการพัฒนา IoT Solution/Business Model ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัล 2018 Thailand Cloud Services Innovative Company of the Year ด้วยการพัฒนา Cloud Platform ซึ่งเป็นหนึ่งในโซลูชันที่ได้รับการพัฒนาและเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการให้บริการแบบครบวงจร หรือ E2E Cloud Services ที่ทาง AIS ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยี IoT เพื่อค้นหาโซลูชันใหม่ ๆ มาพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าและเสนอทางเลือกที่เหมาะสมให้กับภาคธุรกิจต่าง ๆ อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาด, การสื่อสาร, เครือข่าย, และความปลอดภัย ทั้งด้านเครือข่าย และความปลอดภัย ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ จนเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญให้กับภาคธุรกิจในพัฒนาเทคโนโลยี IoT ให้ประเทศไทยอย่างเต็มความสามารถเพื่อนำไปสู่การนำเทคโนโลยีมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยต่อไป

 

โดยทาง AIS (เอไอเอส) พร้อมแล้วที่จะให้บริการ IoT Platform เชิงพาณิชย์ อย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร ตั้งแต่เครือข่าย, อุปกรณ์ และแพลตฟอร์ม ให้กับทุกภาคส่วน และพร้อมให้คำปรึกษากับทุกองค์กรที่สนใจนำ IoT ไปใช้ในการทำงาน สนใจติดต่อได้ที่ Corporate Call Center โทร. 1149 หรือเว็บไซต์ https://business.ais.co.th/iot​

**บทความนี้เป็นบทความ Advertorial

 

 

Update : 16/05/2018

Internet of Things Business NB-IoT





Cookie Consent

Our website uses cookies to provide your browsing experience and relavent informations.Before continuing to use our website, you agree & accept of our Cookie Policy & Privacy