ในวันพรุ่งนี้ (1 มิถุนายน 2565) จะเป็นวันแรกที่มีการเริ่มใช้ พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ PDPA
โดย พ.ร.บ. นี้ ส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า ห้ามถ่ายรูปติดใบหน้าของคนอื่น แต่การถ่ายรูปโดยไม่ติดคนอื่นในเฟรมภาพเลย ปกติแล้วค่อนข้างทำได้ยาก เว้นแต่บริเวณนั้นไม่มีใคร ซึ่งบทความนี้ จะมาไขข้อข้องใจ พ.ร.บ. PDPA ว่าคืออะไร แล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรบ้างจาก พ.ร.บ. PDPA
PDPA คืออะไร ?
PDPA (Personal Data Protection Act) คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีไว้เพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคล ก็ตัวอย่างเช่น ชื่อ-นามสกุล, เบอร์โทรศัพท์, เลขบัตรประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้
พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น ถึงจะไม่ทำผิด พ.ร.บ. PDPA
และสิ่งที่ทำให้ พ.ร.บ. PDPA ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก ณ ชั่วโมงนี้ ก็คงเป็น บทลงโทษ ที่ถือว่า มีค่าปรับค่อนข้างสูง โดยแบ่งเป็น
อ่านมาถึงบรรทัดนี้ หลายคนคงจะเกิดความกังวล และไม่แน่ใจว่า ภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอที่ถ่ายติดใบหน้าบุคคลอื่น จะผิดกฎหมายหรือเปล่า ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ ส.ค.ส. (PDPC) ก็ได้ทำแผนภาพชี้แจงเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น หลัก ๆ ก็คือ จะผิดกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องดูที่เจตนาเป็นหลัก ถ้าหากการถ่ายรูปถ่ายคลิปไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับบุคคลที่ 3 ก็ถือว่า ไม่ได้ทำผิด พ.ร.บ. PDPA นั่นเอง
1. ถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่น โดยเจ้าตัวไม่ยินยอม จะผิด PDPA หรือไม่ ?
ในกรณีที่ถ่ายรูป หรือถ่ายคลิปติดบุคคลอื่น โดยที่ผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่ได้เจตนา และการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปดังกล่าว ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย PDPA
2. การนำคลิปหรือรูปที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดีย โดยที่บุคคลนั้นไม่ได้ยินยอม จะผิด PDPA หรือไม่ ?
หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ได้ใช้แสวงหากำไรทางการค้า และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สามารถโพสต์ได้ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย PDPA
3. การติดกล้องวงจรปิด แล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือน จะผิด PDPA หรือไม่ ?
ถ้าหากเป็นการติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน เพราะจุดประสงค์ในการติดก็คือ ป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าของบ้าน แต่ถ้าหากเป็นบริษัท หรือห้างร้าน อาจจะต้องมีการติดป้ายแจ้งเตือนให้ผู้อื่นทราบก่อนว่า กล้องวงจรปิดกำลังทำงาน
ส่วนกล้องหน้ารถ ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ แต่ก็จะต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไปว่า การเผยแพร่นั้นกระทบถึงผู้อื่นหรือไม่
4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้หรือไม่ ?
ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมทุกครั้ง ถ้าหากการใช้ข้อมูลดังกล่าวเข้าข่ายหัวข้อเหล่านี้
-------------------------------------
ที่มา : PDPC
นำเสนอบทความโดย : techmoblog.com
Update : 31/05/2022
หน้าหลัก (Main) |
(สินค้า IT) ออกใหม่ |
|
FOLLOW US |