นิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วโป้งถูกออกแบบตามธรรมชาติให้มนุษย์สามารถหยิบจับ ยึดเกาะ และถือสิ่งของแต่ทุกวันนี้เราใช้มันไปกับการพิมพ์ แชท กด สัมผัส สไลด์ และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายบนดีไวซ์อย่าง สมาร์ทโฟนที่ได้กลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของมนุษย์ไปเสียแล้ว ดูได้จากความเห็นของวัยรุ่นส่วนหนึ่งเกือบ 100% เผยว่า “ชีวิตขาดสมาร์ทโฟนไม่ได้" ถ้าไม่เชื่อ ให้ลองจินตนาการดูว่า ภายในหนึ่งวันตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า จนกระทั่งก่อนเข้านอนตอนกลางคืน คุณใช้นิ้วโป้งไปกับการกดบนหน้าจอสมาร์ทโฟนกี่ครั้ง เชื่อหรือไม่ว่าสำหรับบางคนนั้นมากกว่า 8,000 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว
ด้วยเหตุนี้เราจึงได้พูดคุยกับ นายแพทย์จตุพล คงถาวรสกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ ถึงอาการบาดเจ็บของนิ้วหัวแม่มือเนื่องจากการใช้งานมากเกินไป โดยคุณหมอกล่าวว่า “มากกว่า 50% ของคนไข้ในโรงพยาบาลใกล้อาคารสำนักงานในเมืองจะมาพบแพทย์ด้านกระดูกและกล้ามเนื้อด้วยอาการผิดปกติของนิ้วและข้อมือ เนื่องจากการใช้งานสมาร์ทโฟนมากเกินไป โดยการใช้งานนิ้วมืออย่างหนักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความดันระหว่างข้อต่อต่างๆ รวมถึงเส้นเอ็นทับเส้นประสาทข้อมือ ซึ่งจะทำให้มีอาการมือชาและนิ้วล็อค หรืออาจทำให้เกิดการอักเสบของข้อมือและนิ้วมือ ซึ่งวิธีการรักษาก็คือการทานยา ฉีดยา หรือผ่าตัด แต่วิธีการรักษาเหล่านี้เป็นการรักษาตามอาการหรือการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น การรักษาที่แท้จริงคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ถ้าเราลดการใช้สมาร์ทโฟนไม่ได้ ก็ต้องลองมองหาอุปกรณ์ที่ช่วยในการสร้างความสมดุลของการใช้งานข้อมือและนิ้วมือในการกดสมาร์ทโฟน”
แนะนำเคล็ดลับ “กันไว้ดีกว่าแก้” เพื่อการป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้งานนิ้วหัวแม่มือในการสัมผัสสมาร์ทโฟนมากเกินไป
อย่างไรก็ตาม มันเป็นไปได้ยากที่จะไม่ใช้สมาร์ทโฟนเลย คุณหมอจตุพลให้คำแนะนำข้อสุดท้ายว่า ให้ใช้สมาร์ทโฟนที่มาพร้อมปากกา โดยใช้ปากกาพิมพ์และจิ้มคำสั่งต่างๆ แทนการใช้นิ้วหัวแม่มือ เพราะการใช้ปากกาบนสมาร์ทโฟนจะทำให้มีการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ ข้อมือ กล้ามเนื้อแขนได้สมดุลมากขึ้น อย่างการใช้ ซัมซุง กาแลคซี่ โน้ต 5 สมาร์ทโฟนหน้าจอใหญ่รุ่นล่าสุดที่มาพร้อมปากกา S Pen สุดยอดนวัตกรรมหนึ่งเดียวจากซัมซุงที่นอกจากจะทำให้บันทึกทุกไอเดียได้ทันใจแล้ว ยังช่วยให้ไม่ต้องพบปัญหานิ้วล็อค ปวดข้อมืออีกต่อไป
Update : 02/10/2015
หน้าหลัก (Main) |
(สินค้า IT) ออกใหม่ |
|
FOLLOW US |