กรุงเทพฯ (21 ธันวาคม 2564) – ในมุมมองของผู้บริโภคยุคใหม่ ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์อาจไม่ใช่เหตุผลเดียวในการเลือกซื้อสินค้าอีกต่อไป เพราะปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของคนรุ่นใหม่กว่า 80%[1] คือวิสัยทัศน์และพันธกิจของแบรนด์ที่มุ่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม สามารถสัมผัสได้ถึงความจริงใจของแบรนด์ในการผลักดันแนวความคิดและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ใช่เพื่อภาพลักษณ์ทางการตลาดเท่านั้น
ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ คือตัวอย่างของบริษัทชั้นนำระดับโลกที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถต่อยอดวิสัยทัศน์สู่หลากหลายโครงการที่ช่วยยกระดับชีวิตของคนไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยตลอดเวลา 32 ปี ที่ผ่านมา ไทยซัมซุงทุ่มเททรัพยากรเพื่อสร้างสรรค์โครงการด้านการศึกษาให้แก่เยาวชนไทย และการดำเนินธุรกิจโดยใส่ใจคนในสังคม รวมถึงการปรับโครงสร้างกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย
ตามวิสัยทัศน์ของแบรนด์ ซัมซุงมุ่งมั่นใช้ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อเป็นส่วนขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปยังอนาคตที่ดีกว่าเดิม โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้คนรอบข้างอยู่เสมอ ภายใต้แนวคิด “มุ่งสร้างพลังคน มุ่งสร้างอนาคตที่ดีร่วมกัน” (Together for Tomorrow! Enabling People) ใน 3 แง่มุมหลัก ได้แก่ Education (การศึกษา), Empowering (เติมเต็มความสามารถ), และ Environment (สิ่งแวดล้อม)
Education: อนาคตของสังคมเริ่มต้นที่เยาวชนของชาติ
โลกของวันพรุ่งนี้เป็นของเยาวชน และถึงแม้ว่าอนาคตจะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและความท้าทายมากมาย การศึกษาคืออาวุธที่เยาวชนจะใช้เสริมศักยภาพและเตรียมพร้อมสำหรับการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ ซัมซุงตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาจึงได้ทำกิจกรรมมากมายร่วมกับเยาวชนอย่างใกล้ชิด เพื่อมอบโอกาสในการเข้าถึงความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่ดีขึ้น ซัมซุงเชื่อว่าคนทุกคนจะต้องสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะมาจากไหน อายุเท่าไร หรือมีข้อจำกัดอะไรก็ตาม ไทยซัมซุงช่วยส่งเสริมเยาวชนไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง เพื่อจะได้เป็นแรงขับเคลื่อนสังคมไทยในอนาคต
ผลการศึกษาของ McKinsey & Company พบว่า เมื่อเทคโนโลยีรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ช่องว่างทางโอกาสการเติบโตในสายอาชีพก็เพิ่มสูงขึ้น โดยคนที่มีความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีจะมีการเติบโตที่มากกว่า[2] นี่จึงเป็นแรงผลักดันให้ ไทยซัมซุง จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ Samsung Innovation Campus หรือ SIC โครงการที่ส่งเสริมทักษะในยุคดิจิทัลผ่านการอบรมโค้ดดิ้ง (Coding) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนและบุคลากรทางการศึกษาของไทยให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมโค้ดดิ้ง และยังมีตัวอย่างความสำเร็จ อย่าง นายภาสกร ภัทรภากร อดีตนักเรียน SIC ที่สามารถเข้าศึกษาต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ หลักสูตรนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และกลับมาเป็นผู้ช่วยสอนในโครงการ SIC ปีต่อมาอีกด้วย
นอกจากนี้ ไทยซัมซุงยังให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมด้านการศึกษาของเด็กไทย โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาที่เด็กไทยจำเป็นต้องเรียนหนังสือผ่านช่องทางออนไลน์อยู่ที่บ้าน ซัมซุงจึงเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโอกาสให้นักเรียนทั่วประเทศได้เข้าถึงการศึกษารูปแบบใหม่ โดยการมอบแท็บเล็ตให้โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร[3]และช่วยให้นักเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้ และยังนับเป็นการปูพื้นฐานเพื่อพร้อมรับรูปแบบใหม่ของการเรียนรู้แห่งอนาคตให้กับเด็กไทย
ด้านทักษะในสายอาชีพ ไทยซัมซุงให้ความสำคัญกับความสามารถและพรสวรรค์ในงานช่าง ผ่านโครงการ Samsung Dual Vocational Education หรือ Samsung DVE ที่สร้างพื้นที่ให้กับนักเรียนสายอาชีวะได้แสดงความสามารถและเพิ่มโอกาสการทำงาน โดยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) พัฒนานักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) ได้เข้าไปเรียนรู้และสัมผัสกับโลกของการทำงานจริงในศูนย์บริการซัมซุงทั่วประเทศ
Empowering: ดูแลคนไทยอย่างใส่ใจ ร่วมสร้างอนาคตที่สดใส
ด้วยคำกล่าวที่ว่า “The People are the Company” ซึ่งหมายความว่าทรัพยากรบุคคลคือสิ่งที่มีค่าที่สุดของบริษัท ไทยซัมซุงจึงนิยามความสำเร็จของแบรนด์ด้วยสิ่งดีๆ ที่สามารถมอบให้กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน พาร์ตเนอร์ หรือสังคม ซัมซุงมองเห็นถึงศักยภาพที่เป็นไปได้และพร้อมเป็นตัวช่วยดึงความสามารถของคนรอบข้างออกมา เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้คนในองค์กรและสังคม
ซัมซุงทุ่มเทในการสนับสนุนพนักงานให้พัฒนาทักษะและความสามารถให้เต็มศักยภาพ ไทยซัมซุงเปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับเข้าถึงคลังความรู้หลายหลายรูปแบบ หลายวิชา บนหลายแพลตฟอร์ม โดยจัดสรรงบราว 10 ล้านบาทต่อปี เพื่อสนับสนุนคอร์สเรียนต่างๆ ที่พนักงานต้องการได้รับความรู้เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น ความรู้ด้านการบริหาร หรือ ความรู้เชิงเทคนิค ทำให้พนักงานของไทยซัมซุงมีความสามารถรอบด้านและสามารถรับมือกับเทรนด์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ไม่เพียงแต่คนในองค์กรเท่านั้นที่ไทยซัมซุงใส่ใจดูแล แต่รวมถึงคนในสังคมอีกด้วย เช่น ช่วยให้เกษตรกรไทยได้ก้าวสู่ยุค AgriTech อย่างมั่นใจ เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ รวมถึงลดต้นทุน ด้วยหลักการทำเกษตรแบบแม่นยำ (precision farming) โดยไทยซัมซุงร่วมมือกับ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด สนับสนุนสมาร์ทดีไวซ์ เพื่อให้เกษตรกรไทยได้ใช้ควบคู่ไปกับโซลูชันการเกษตรอัจฉริยะ และเข้าถึงเทคโนโลยีโดรนและภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อนำข้อมูลมาบริหารจัดการพื้นที่ ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้สูงสุดถึง 20%
ความใส่ใจคนในสังคมไทยยังรวมไปถึงแรงงานฝีมือที่ทำงานใกล้ชิดกับซัมซุงในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ อย่าง ช่างเครื่องปรับอากาศอีกด้วย โดยซัมซุงได้พัฒนาโครงการ AC Installer Community ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จัดทำคอร์สฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานช่างเครื่องปรับอากาศ เพื่อพัฒนาศักยภาพและความสามารถ พร้อมยกระดับทักษะให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ตลอดจนส่งเสริมให้ช่างมีใบรับรองตามกฎหมาย เพื่อเพิ่มทรัพยากรบุคคลให้ตลาดที่กำลังขาดแคลนแรงงานที่มีความสามารถและทักษะในการปฏิบัติการ
Environment: ดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
ซัมซุงเชื่อว่าแบรนด์จะต้องปรับเปลี่ยนการปฏิบัติการในทุกะดับ ตั้งแต่การผลิตจนถึงโครงการเชิงนโยบาย ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบต่อธรรมชาติและสร้างโลกที่ดียิ่งขึ้นให้กับคนรุ่นต่อไป โดยซัมซุงเริ่มให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมาตั้งแต่ปี 2535 ด้วย ปฏิญญาด้านสิ่งแวดล้อม (Samsung Environmental Declaration)[4] ไทยซัมซุงรับเอาวิสัยทัศนะ “Planet First” มาใช้ในประเทศไทยและได้ต่อยอดให้เกิดเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การผลิต ประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการจัดการขยะอิเลคโทรนิคส์
ไทยซัมซุงเริ่มต้นดูแลสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิต โดยการลดปริมาณขยะพิษและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยอย่างเป็นระบบ เช่น โรงงานผลิตเตาอบของไทยซัมซุงเปลี่ยนวิธีการเคลือบผิวเครื่องใช้ไฟฟ้าจากการใช้สารเคมีประเภทกรดปริมาณมากในการเคลือบผิวด้านในของเตาอบ มาเป็นการใช้วิธี Low Temperature Coating ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในกระบวนการนี้เลย (Zero Chemical Waste) อีกทั้งเปลี่ยนการใช้ทรัพยากรน้ำในการทดสอบการรั่วไหลของผลิตภัณฑ์ มาเป็นใช้ความดันลมแทน ทำให้ลดการสร้างปริมาณน้ำเสียลง
ซัมซุง ร่วมสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยหันมาใช้วัสดุกระดาษหรือวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ ในการผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์แทนการใช้พลาสติก ครอบคลุมตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ไปจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น บรรจุภัณฑ์ของ Galaxy S21 Series 5G มีส่วนประกอบของพลาสติกอยู่เพียง 4% และใช้กระดาษเพียง 58% เมื่อเปรียบเทียบกับ Galaxy S7 ส่งผลให้ปริมาณการตัดต้นไม้ลดลงถึง 44,802 ต้นต่อปี นอกจากนี้ซัมซุงยังออกแบบบรรจุภัณฑ์ทีวีแบบ Eco Packaging เป็นพิเศษเพื่อการรียูส (reuse) ให้ผู้ซื้อได้มีส่วนร่วมในการักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำบรรจุภัณฑ์มาทำเป็นของใช้ภายในบ้านได้หลากหลายรูปแบบ
ความมุ่งมั่นของไทยซัมซุงต่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมยังเห็นได้จาก การส่งเสริมการกำจัดขยะอิเลคโทรนิคส์อย่างถูกต้องเพื่อลดมลพิษและสารพิษ ผ่านแคมเปญ “เก่าแลกใหม่” เปิดโอกาสให้นำสมาร์ทโฟนเครื่องเก่าไม่จำกัดแบรนด์มารับส่วนลดเพื่อซื้อเครื่องใหม่ได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสภาพเครื่อง นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ AIS ทำโครงการ “คนไทย ไร้ E-Waste” ชวนคนไทยทิ้งขยะอิเลคโทรนิคส์ที่ถังขยะ E-Waste ณ ซัมซุงสโตร์ โดยโครงการนี้สามารถนำขยะอิเลคโทรนิคส์ไปกำจัดอย่างถูกวิธีแล้วมากกว่า 2 แสนชิ้น[5]
ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ซัมซุงมุ่งมั่นสร้างสังคมไทยที่แข็งแกร่งอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนให้คนไทยและประเทศไทยได้ก้าวสู่อนาคตที่ดีก้าวเดิมพร้อมสร้างอนาคตที่ดีร่วมกัน ซัมซุงเชื่อมั่นว่า พลังของนวัตกรรมเทคโนโลยีผสานกับศักยภาพของคนในสังคมไทยสามารถเปลี่ยนปัจจุบันและอนาคตให้ดีกว่าเดิมได้ โดยไทยซัมซุงจะ “มุ่งสร้างพลังคน มุ่งสร้างอนาคตที่ดีร่วมกัน” ต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
[2] ผลการศึกษาของ McKinsey & Company พบว่า เมื่อเทคโนโลยีรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ช่องว่างทางโอกาสการเติบโตในสายอาชีพก็เพิ่มสูงขึ้น โดยคนที่มีความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีจะมีการเติบโตที่มากกว่า
[4] ซัมซุงเริ่มให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมาตั้งแต่ปี 2535 ด้วย ปฏิญญาด้านสิ่งแวดล้อม (Samsung Environmental Declaration)
[5] โครงการ “คนไทย ไร้ E-Waste” ทำให้สามารถเก็บ E-Waste เข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้องได้แล้วกว่า 223,807 ชิ้น ซึ่งสามารถดูดซับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2,238,070 กิโลกรัมคาร์บอนสมมูลย์ เทียบเท่ากับต้นไม้ขนาดใหญ่ 248,674 ต้น (น้ำหนัก 10,749.17 Kg. / 10.7 Tons)
Update : 21/12/2021
หน้าหลัก (Main) |
(สินค้า IT) ออกใหม่ |
|
FOLLOW US |